เมนู

ในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับทั้งพระธรรมและภิกษสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า นายนฏคามณีนามว่าตาลบุตรได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ท่านพระตาลบุตรอุปสมบทไม่นาน หลีกออกจาก
หมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่ ฯลฯ ก็แลท่าน
พระตาลบุตรเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบ ตาลปุตตสูตรที่ 2

อรรถกถาตาลปุตตสูตรที่ 2



ในตาลปุตตสูตรที่ 2 พึงทราบวินิฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ตาลปุตฺโต คือเขามีชื่ออย่างนั้น. เล่ากันมาว่า นายบ้าน
นักฟ้อนรำคนนั้น มีผิวพรรณผ่องใสเหมือนลูกตาลสุกที่หลุดจากขั้ว. ด้วย
เหตุนั้น คนทั้งหลายจึงตั้งชื่อเขาว่า ตาลบุตร. นายตาลบุตรผู้นี้นั้น
เขาถึงพร้อมด้วยอภินิหาร ( บุญเก่า ) เป็นบุคคลเกิดในภพสุดท้าย (ไม่ต้อง
เกิดอีก ). แต่เพราะธรรมดาปฏิสนธิ เอาแน่นอนไม่ได้ เหมือนท่อนไม้
ที่ขว้างไปในอากาศ ฉะนั้น นายตาลบุตรนี้จึงบังเกิดในตระกูลนักฟ้อนรำ
พอเจริญวัยก็เป็นยอดทางนาฏศิลปศิลปฟ้อนรำ มีชื่อกระฉ่อนไปทั่วชมพู-
ทวีป. เขามีเกวียน 500 เล่ม มีหญิงแม่บ้าน 500 คนเป็นบริวาร
แม้เขาก็มีภรรยาจำนวนเท่านั้น ดังนั้นเขาจึงพร้อมด้วยหญิง 1,000 คน

และเกวียน 1,000 เล่ม อยู่อาศัยนครหรือนิคมใด ๆ ประชาชนในนคร
หรือนิคมนั้น ๆ พากันให้ทรัพย์แสนหนึ่งแก่เขาก่อนทีเดียว. เมื่อเขาแต่งตัว
แสดงมหรสพกำลังเล่นกีฬาพร้อมด้วยหญิง 1,000 คนอยู่ ประชาชน
ต่างโยนเครื่องประดับมือเท้าเป็นต้น ตบรางวัลให้ไม่มีสิ้นสุด. วันนั้นเขา
แวดล้อมด้วยหญิง 1,000 คน เล่นกีฬาในกรุงราชคฤห์ เพราะมีญาณ
แก่กล้า พร้อมด้วยบริวารทั้งหมดเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.
บทว่า สจฺจาลิเกน ได้แก่ด้วยคำจริงบ้าง ด้วยคำเท็จบ้าง. บทว่า
ติฏฺฐเตตํ ความว่า ข้อนั้นจงพักไว้. บทว่า รชนิยา ได้แก่มายากล
แสดงลมเจือฝนพัดด้ายห้าสีออกจากปาก ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งราคะ และนัย
ที่ยิ่ง ๆ ขึ้นไปอย่างอื่นซึ่งแสดงอาการที่ประกอบด้วยความยินดีในกาม.
บทว่า ภิยฺโยโส มตฺตาย ได้แก่โดยประมาณยิ่ง. บทว่า โทสนิยา
ได้แก่อาการที่แสดงมายากลมีการตัดมือและเท้าเป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยแห่ง
โทสะ. บทว่า โมหนิยา. ได้แก่มายากลชนิดชนิดเอาน้ำทำน้ำมัน เอาน้ำมัน
ทำน้ำ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเป็นเป็นปัจจัยแห่งโมหะ. บทว่า ปหาโส นาม
นิรโย
ความว่า ธรรมดานรกที่ชื่อว่า ปหาสะ มิได้มีเป็นนรกหนึ่งต่างหาก
แต่เป็นส่วนหนึ่งของอเวจีนั่งเองที่พวกสัตว์แต่งตัวเป็นนักฟ้อนรำ ทำเป็น
ฟ้อนรำและขับร้องพากันหมกไหม้อยู่ ท่านกล่าวหมายเอานรกนั้น. ในบทว่า
นาหํ ภนฺเต เอตํ โรทามิ นี้ พึงทราบเนื้อความด้วยอำนาจสกรรมกิริยา
อย่างนี้ว่า ข้าพระองค์มิได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ข้อนั้น พระเจ้าข้า. อนึ่ง ในข้อว่า ชนทั้งหลายปรารภถึงคนตายมีน้ำตา
ไหลร้องไห้เป็นต้นนี้ พึงทราบว่าเป็นอีกโวหารหนึ่ง.
จบ อรรถกถาตาลปุตตสูตรที่ 2

3. โยธาชีวสูตร



ว่าด้วยปัญหาของนักรบอาชีพ



[593] ครั้งนั้นแล นายบ้านนักรบอาชีพเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำของนักรบอาชีพทั้งอาจารย์
และปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวกันอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายาม
ในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้น
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ในข้อนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่าเลย
นายบ้าน ขอพักข้อนี้เสียเถิด อย่าถามข้อนี้กะเราเลย แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 นายนักรบอาชีพได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำของนักรบอาชีพทั้งอาจารย์และ
ปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวกันอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายาม
ในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้น
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ในข้อนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัสว่ากะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
นายบ้าน เราห้ามท่านไม่ได้แล้วว่า อย่าเลยนายบ้าน ของดข้อนี้เสียเถิด
อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน ดูก่อนนายบ้าน นักรบ
อาชีพคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม ผู้นั้นยึดหน่วงจิตกระทำไว้ไม่ดี
ตั้งจิตไว้ไม่ดีก่อนว่า สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ
หรือว่าอย่าได้มี คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย
ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเกิดในนรกชื่อสรชิต ก็ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า